วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บันทึกครั้งที่ 12


วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ 2562
เวลา (08.30-12.30)

The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

👉 ทักษะใน EF

  1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน
  2. ทักษะการยั้งคิด
  3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด
  4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ
  5. การควบคุมอารมณ์
  6. การวางแผนและการจัดการ
  7. การประเมินตนเอง
  8. การและลงมือทำ
  9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย

👉 การจัดการเรียนการสอนแบบ

ไฮสโคป  เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติตามความสนใจของเด็ก    ตามศูนย์การเรียนรู้จะมีวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้และพัฒนาการตามวัย  จัดไว้อย่างเป็นหมวดหมู่  เด็กจะได้รับการกระตุ้นจากครู  ให้คิดนำอุปกรณ์ที่จัดไว้มาจัดกระทำหรือเล่นด้วยการวางแผนการทำงาน  แล้วดำเนินตามแผนไว้ตามลำดับพร้อมแก้ปัญหาและทบทวนงานที่ทำ  ด้วยการทำงานร่วมกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มเล็กๆ  โดยมีครูคอยให้กำลังใจ  ถามคำถาม  สนับสนุน  ให้คำแนะนำและเพิ่มเติมสิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้  ตามแผนที่กำหนด  จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน  การสนับสนุนให้เด็กมีความรู้ด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเองตามแนวคิดของการจัดการศึกษาแบบ ไฮสโคป  มาจากความเชื่อพื้นฐานดังนี้
 เด็กสามารถสร้างความรู้ได้จาก  การมีส่วนร่วมกระทำกับบุคคล  วัสดุอุปกรณ์  เหตุการณ์  และความคิด  เนื่องจากเป็นกระบวนการจูงใจภายใน ในขณะที่เด็กกำลังเรียงลำดับความคิดความสามารถในแต่ละขั้นขณะปฏิบัติ  ผู้ใหญ่จะเป็นผู้มีส่วนช่วยสนับสนุนพัฒนาการทางร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญา
การสนับสนุนของผู้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ  การยอมรับการเลือก  การคิด  และการกระทำของเด็กเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเด็กสร้างให้เด็ก  สร้างให้เด็กมีความมั่นใจตนเอง  มีความรู้สึกรับผิดชอบ  และรู้จักความควบคุมตนเอง การสังเกตความสนใจและความตั้งใจของเด็กอย่างละเอียดถี่ถ้วนเป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการเข้าใจระดับพัฒนาการของเด็ก  การวางแผนและการดำเนินปฏิสัมพันธ์กับเด็กได้อย่างเหมาะสม


👉 การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)

หลักการที่สําคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสําคัญ ในการพัฒนาเด็กการเรียนรู้แบบลงมือกระทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการการเรียนรู้แบบลงมือกระทํา หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทํากับวัตถุได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ได้แก่


  1.  การเลือกและตัดสินใจ เด็กจะเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจากความสนใจและความตั้งใจของตนเอง เด็กเป็นผู้เลือกวัสดุอุปกรณ์และตัดสินใจว่า จะใช้วัสดุอุปกรณ์นั้นอย่างไร การที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจทํา ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากกว่าได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้ใหญ่ ดังนั้น ผู้ใหญ่ที่ตระหนักถึงความสำคัญเรื่อง การเลือก และการตัดสินใจต้องจัดให้เด็กมีอิสระที่จะเลือกได้ตลอด ทั้งวันขณะที่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไม่ใช่เฉพาะ ในช่วงเวลาเล่นเสรีเท่านั้น
  2. สื่อ ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำจะมีเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย เพียงพอ และเหมาะสมกับระดับอายุของเด็ก เด็กต้องมีโอกาสและมีเวลาเพียงพอที่จะเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระ เมื่อเด็กใช้เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เด็กจะมีโอกาส เชื่อมโยงการกระทำต่างๆ การเรียนรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ และมีโอกาสในการแก้ปัญหามากขึ้นด้วย
  3. การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กได้สำรวจ และจัดกระทำกับวัตถุโดยตรงทำให้เด็กรู้จักวัตถุ หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับวัตถุ แล้วเด็กจะนำวัตถุต่างๆ มาเกี่ยวข้องกันและเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ ผู้ใหญ่มีหน้าที่จัดให้เด็กค้นพบความสัมพันธ์เหล่านี้ด้วยตนเอง
  4. ภาษาจากเด็ก สิ่งที่เด็กพูดจะสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็กในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทําเด็กมักจะเล่าว่าตนกําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วในแต่ละวัน เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษา เพื่อสื่อความคิดและรู้จักฟังความคิด เห็นของผู้อื่น เด็กจะเรียนรู้วิธีการพูดที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ได้พัฒนาการ คิดควบคู่ ไปกับการพัฒนา ความเชื่อมั่นในตนเองด้วย
  5. การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ในห้องเรียนการเรียนรู้แบบลงมือกระทําต้องสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก สังเกตและค้นหา ความตั้งใจ ความสนใจของเด็ก ผู้ใหญ่ควรรับฟังเด็ก ส่งเสริมให้เด็กคิดและทําสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทํา เด็กจะเผชิญกับประสบการณ์สําคัญซํ้าแล้วซํ้า อีกใน ชีวิตประจําวันอย่างเป็นธรรมชาติ ประสบการณ์สําคัญเป็นกุญแจที่จําเป็นในการสร้างองค์ความรู้ของเด็กเป็นเสมือนกรอบความคิดที่จะทําความเข้าใจการเรียนรู้แบบลงมือกระทํา เราสามารถให้คําจํากัดความได้ว่า ประสบการณ์สําคัญเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่เด็กจะต้องหามาให้ได้โดยการปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ คน แนวคิดและเหตุการณ์ สำคัญต่างๆ อย่างหลากหลาย ประสบการณ์สำคัญเป็นกรอบความคิดให้กับผู้ใหญ่ในการเข้าใจการเรียนรู้ของเด็ก สามารถวางแผนการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสม





การประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์จินตนาอธิบายค่ะ 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟัง อาจารย์จินตนาอธิบายและมีความสุขกับการเรียนค่ะ

ประเมินอาจารย์ผู้สอน : อาจารย์จินตนาอธิบายการสอนแบบไฮสโคปได้เข้าใจค่ะ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น