วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกครั้งที่ 10

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ 2562
 เวลา (08.30-12.30)


The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

อาจารย์จินตนาได้เชิญวิทยากร ผศ.ดร. กรรณิการ์ สุขสม มาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำ
สารนิทัศน์

👉 สารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย ( Documentation for young Children )
หมายถึงการจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เป็นร่องรอยของการเจริญเติบโตและพัฒนาการ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย จากการทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกไว้เป็นระยะจะเป็นข้อมูลที่บ่งบอกถึง พัฒนาการของเด็ก
👉 กระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาครูโดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์

  1. ประสบการณ์และการปฏิบัติของบุคคล
  2. การเก็บรวบรวมหลักฐาน ต่างๆ (สารนิทัศน์)
  3. การทบทวนสะท้อนความคิด เพื่อปรับปรุงหรือ วางแผน(การไตร่ตรอง)
  4. การปฏิบัติที่สะท้อนความรู้ความเข้าใจ

👉 รูปแบบของการไตร่ตรองสารนิทัศน์

  1. หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
  2. หลักฐานเกี่ยวกับการสอนของครู

👉 กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์

  1. กิจกรรมการเก็บรวบรวมหลักฐาน
  2. กิจกรรมแบบไตร่ตรองสะท้อนความคิด
  3. กิจกรรมการนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียนรู้
  4. กิจกรรมประชุมกลุ่มย่อยและประชุมกลุ่มใหญ่

👉 ประเภทของสารนิทัศน์

  1. บทสรุปโครงการ
  2. การสังเกตพัฒนาเด็กบันทึกพฤติกรรมเด็ก (บันทึกสั้น)
  3. Portfolio ภาพถ่ายและสะท้อนพัฒนาการเด็ก
  4. ผลงานเด็กรายบุคคล
  5. ผลงานเด็กแบบกลุ่ม
  6. การสะท้อนตนเอง

👉 บทบาทครูกับจัดประสบการณ์ส่งเสริมการคิด

  1. การใช้จิตวิทยา
  2. การคิดริเริ่มการจัดกิจกรรม
  3. การมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก
  4. การใช้คำถามกับเด็ก

👉 การประเมินพัฒนาการทางการคิดของเด็กปฐมวัย

  1. ประเมินตามสภาพจริง ได้แก่


  • ประเมินพฤติกรรมที่แสดงออก
  • ประเมินผลงานและชิ้นงาน

   2.ประเมินโดยการทดสอบโดยใช้แบบวัดแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ ของทอแรนซ์ ของเจอร์ลัล เออร์บัล เป็นต้น
👉 การใช้ผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัย
รูปแบบของการแสดงออกทางความคิดที่สามารถมองเห็นและอธิบายได้อย่างเป็นระบบชัดเจนซึ่งประกอบไปด้วยความคิดหรือข้อมูลที่สำคัญที่เชื่อมโยงกันในรูปแบบต่างๆ ทำให้เห็นโครงสร้างของความรู้หรือเนื้อหาสาระนานๆและเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียน จากข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ให้เป็นระบบระเบียบง่ายต่อการทำความเข้าใจและช่วยให้จดจำได้นาน
👉 มีการสอนวิธีการ เทคนิคในการพาเด็กๆในห้องเรียนทำกิจกรรมเคลื่อนไหว มีการร้องเพลง








การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟัง ผศ.ดร. กรรณิการ์ สุขสม ให้ความรู้ในเรื่องของการทำสารนิทัศน์ค่ะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังผศ.ดร. กรรณิการ์ สุขสม ให้ความรู้ในเรื่องของการทำสารนิทัศน์เเละมีความสุขกับการทำกิจกรรมค่ะ

ประเมินอาจารย์ผู้สอน : อาจารย์จินตนาคอยให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารนิทัศน์ได้เข้าใจเพิ่มมากขึ้นค่ะ








วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกครั้งที่ 9


วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เวลา(08.30-12.30)


The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)
👉 อาจารย์จินตนาอธิบายการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ในหน่วยต่างๆ

👉 หัวข้อแตกเป็นย่อยๆ คือ การวิเคราะห์หัวเรื่อง โดยใช้ Mind Map

👉 จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังพอได้แล้วนำมาออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน

👉 การหวังผล คือ การตั้งจุดประสงค์

👉 การเล่น คือ ประสบการณ์สำคัญ

👉 การเรียนรู้ คือ การให้เด็กลงมือกระทำ

👉 ประสบการณ์ทั้ 4 ด้าน

1.ด้านร่างกาย
2.ด้านอารมณ์-จิตใจ
3.ด้านสังคม
4.ด้านสติปัญญา
👉 การศึกษาแบบองค์รวม (holistic education) หมายถึง การพัฒนามนุษย์และการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงมิติอันหลากหลายของบุคคล ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา การรู้คิด สุนทรียภาพ และมิติอื่น ๆ
👉 กิจกรรมกลางเเจ้ง เช่น เกมวิ่งเปรี้ยว เป็นต้น

👉 เกมการศึกษา เช่น เกมลอตโต,ภาพตัดต่อ,จับคู่,จิกซอร์,โดมิโน,เรียงลำดับ,เกมสัมพันธ์เนื้อหา,อนุกรม,จัดหมวดหมู่,เกมความสัมพันธ์ 2 แกน,พื้นฐานการบวก

👉 อาจารย์จินตนาให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม วาดภาพแหล่งน้ำที่มีชื่อเสียง มองเเล้วรู้ว่าคือเเม่น้ำสายไหน อยู่ที่ไหน

👉 ขั้นนำในการสอน การใช้เพลง ,คำคล้องจอง,ปริศนาคำทาย,นิทาน เข้ามาช่วยในการสอน

👉 กิจกรรมนี้เป็นการส่งเสริมเด็กในด้านศิลปะ

1.การตั้งคำถามเด็กๆรู้จักเเหล่งน้ำอะไรบ้าง
2.มีการนำภาพของเเหล่งน้ำมาให้เด็กๆได้ดู
3.เด็กๆวาดภาพเเหล่งน้ำที่รู้จัก


👉 กิจกรรมนี้ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กๆ
           




👉 อาจารย์จินตนาให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม โดยให้สิ่งของมาออกแบบสร้างที่รองรับน้ำหนักของหนังสือและพาน

👉 วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างฐาน

1.เทปกาว
2.หนังสือพิมพ์

👉 กิจกรรมนี้ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิดและวางแผน การออกแบบ การรับฟังความคิดเห็น ของผู้อื่น ความสามัคคี

      



การประเมิน

ประเมินตนเอง: ตั้งใจฟังเพื่อน นำเสนองาน และมีความสุขกับการทำกิจกรรมค่ะ

ประเมินเพื่อน: เพื่อนตั้งใจฟังเพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนอและทำกิจกรรมกลุ่มได้มีความน่าสนใจค่ะ 

ประเมินอาจารย์: อาจารย์จินตนาให้ความรู้เพิ่มเติมเข้าใจเพิ่มมากขึ้นค่ะ



บันทึกครั้งที่ 8


วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เวลา(08.30-12.30)
 The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

👉 อาจารย์ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มและนำเสนอในหัวข้อรูปแบบการสอน Project Approach (การสอนแบบโครงการ)

👉 โปรเจกต์ รองเท้า

👉 ระยะที่ 1 การเริ่มต้นโครงการ






                  
    






  ระยะที่ 2 การพัฒนาโครงการ



                   
      ระยะที่ 3 การสรุปโครงการ

                    
               
👉 สารนิทัศน์ มี 5 ประเภท

1.การบันทึก

2.การถ่ายภาพ

3.การทำวิดีโอ

4.การทำไดอะแกรมใยแมงมุม

5.การสะท้อนตนเอง
















การประเมิน

ประเมินตนเอง: ตั้งใจทำงานกลุ่มและตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองาน เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ

ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆนำเสนองานได้เข้าใจค่ะ

ประเมินอาจารย์: อาจารย์จินตนาให้คำแนะนำเกี่ยวกับรูปแบบในการนำเสนอเเละความถูกต้องได้เข้าใจเพิ่มมากขึ้นค่ะ